วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนคั้งที่ 13



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 13

วัน  อังคาร ที่ 11 พฤศจิกายน  พ.ศ. 2557


เนื้อหาที่ได้เรียนในวันนี้


ทารกกับดาวน์ ซินโดรม (A baby with Down syndrome)

ปฏิกิริยาของบิดามารดาทันทีที่รับทราบว่าทารกของตนเป็ นดาวน์ ซินโดรมอาจรวมถึงอาการช็อค โกรธ และ 
โศกเศร้า บิดามารดาหลายรายกังวลว่าตนเองจะเผชิญกับปัญหานี ้ได้อย่างไร 
แต่ครอบครัวส่วนมากสามารถเผชิญกับปัญหานี้ได้โดยอาศัยความช่วยเหลือสนับสนุนและข้อมูลต่างๆ  
=>  ทารกของท่านต้องการความรัก ความอบอุ่น และความสนับสนุนเหมือนกับเด็กทั ้งหลาย 
และเขาจะเติบโตและเจริญวัยส่วนใหญ่เหมือนกับทารกอื่นๆ
=> ให้เวลาตัวเองในการปรับตัว และเรียนรู้เกี่ยวกับทารกของท่าน
= > บอกกล่าวให้ครอบครัวและเพื่อนฝูงทราบ อธิบายให้พวกเขาเข้าใจเรื่องดาวน์ ซินโดรม
ยอมรับความช่วยเหลือที่คนเหล่านี ้เสนอให้ท่าน และแชร์ความรู้สึกนึกคิดของท่านกับพวกเขา 
=> อย่ายกเลิกความฝันของท่าน –อย่าปล่อยให้ดาวน์ 
ซินโดรมเป็ นผู้ก าหนดอนาคตของทารกและของครอบครัวของท่าน

Down's Syndrome

     เป็นเด็กสามารถช่วยเหลือตนเองได้ สามารถใช้ชีวิตและอยุ่ในสังคมได้เหมือนคนปกติ เน้นการดูเเลเบบองค์รวม คือ เน้นการดูเเลทั้ง4ด้าน ร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา  และบุคคลต่างๆที่มีความเกี่ยวข้องต้องดูเเล  เช่น พ่อ เเม่ ญาติ เเพทย์ เป็นต้น 
  • น้องดาวน์ก็ไม่ใช่ปัญหาของครู เพราะน้องดาวน์เป็นคนอารมณ์ดี ยิ้มง่าย หัวเราะมีความสุขทั้งวัน คุณครูสอนอะไรก็เชื่อฟัง พูดง่าย ไม่ดื้อ ไม่ซน เป็นเด็กน่ารัก
  • น้องดาวน์เป็นเด็กที่เเพทย์จะต้องดูเเลตั้งเเต่เเรกเกิด
  • น้องดาวน์มีพัฒนาการช้า แต่ทำทุกอย่างได้เหมือนเด็กปกติทำ เเต่อาจจะทำได้ไม่ดีมากนัก ซึ่งต้องสอนหรือให้ทำซ้ำๆ
  • การสอนเรื่องเพศศึกษายิ่งต้องสอน โดยเฉพาะน้องดาวน์ เพื่อป้องกันและระมัดระวังตัวเองเพราะน้องดาวน์ที่เป็นผู้หญิงไม่เป็นหมันมีสิทธิ์ท้องได้ ส่วนน้องดาวน์ผู้ชายมี 1% ทีไม่เป็นหมัน
  • น้องดาวน์ส่วนมากเป็นโรคหัวใจ หรือลิ้นหัวใจรั่วต้องระวังเเละตรวจเช็คเด็ก
ประเมิน
ประเมินตัวเอง  เขาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน
ประเมินเพื่อน  เขาเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียนและฟังอาจารย์สอนทุกคน
ประเมินอาจารย์  อาจารย์เขาสอนตรงเวลาคะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยคะมีเทคนิกการสอนสนุกสนานมากเลยคะทำให้เขาใจเนื้อหาง่ายขึ้นคะชอบวิธีการสอนของอาจารย์มากคะ

ของมูลเพิ่มเติม

การแพทย์ผสมผสานสำหรับเด็กออทิสติก - YouTube

                            

วิธีการฝึกและดูแลเด็กออทิสติก

แนวทางการดูแลออทิสติกแบบบูรณาการ                                                    





วันเสาร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกกาเรียนการสอนครั้นที่ 12


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 12

วัน อังคาร ที่ 4  พฤศจิกายน 2557

ความรู้ทีได้เรียนวันนี้
 วันนี้อาจารย์ได้บอกคะแนนสอบแต่ละคนว่าได้เท่าไรและเฉยลคำตอบทั้ง 60 ข้อ เพื้อให้นักศึกได้รู้คำตอบที่ถูกต้องและทำให้นักศึกษาได้ทบทนอีกครั้ง ทำให้เขาใจมากขึ้น

ประเมิน
   ประเมินตัวเอง = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจฟันอาจารย์เฉลยข้อสอบและจบบันทึกตามที่อาจารย์เฉลยมาเพื่อจะได้รู้ข้อที่ทำผิดมันผิดเพราะอะไรและรู้สึกตื่นเต้นมา ก่อนที่จะได้ดูคะแนน
ประเมินเพื่อน = เข้าเรียนตรงเวลา แต่งกายเรียบร้อย เพื่อนแต่ละคนก็คงไม่แตกต่างจากฉันนักหรอกเพราะแต่ละก็อยากจะดูคะแนน และเพื่อนแต่ละคนก็ตั้งใจฟันคำตอบที่อาจารย์เฉยลให้และจบบันทึก
   ประเมินอาจารย์ = เข้าสอสตรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียนร้อย และอาจรย์ก็ได้เฉยลคำตอบให้รู้ทุกข้อเลยคะทำให้นักศึกษาเข้าใจในเนื้อหามากขึ้น ไม่สบสน อาจารย์สอนสนุกสนานและเข้าใจในเนื้อหามากขึ้นคะ

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 11

วัน อังคาร ที่ 28 ตุลาคม 2557

วันนี้พวกเราได้สอบกลางภาคคะไม่มีการเรียนการสอนคะ 


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 10

วัน อังคาร ที่ 21 ตุลาคม 2557

เด็กที่มีความบกพ่รองทางพฤติกรรมและอารมณ์

                (Children with Behavioral and Emotional Disorders)






เด็กสมาธิสั้น


 (Attention Deficit Hyperactivity Disordes; ADHD)



                                                                       

  •   เด็กพิการซ้อน

  • (Children with Multiple Disabilities)

  •                                   

การประเมิน
การประเมินตัวเอง = เขาเรียนตรงเลวา แต่งกายเรียบร้อย ตั้งใจเรียน ชอบดูวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้ดูและการยกตัวอย่างของอาจารย์ชอบการเรียนการสอนแบบนี้มากเลยคะเข้าใจเนื้องหาง่ายขึ้นทำให้ไม่เครียด
ประเมินเพื่อน = เขาเรียนตรงเวลา แต่งตัวเรียบร้อย ตั้งใจเรียนทุกคนและเรียนอย่างสนุกสนานกันทุกคนเล
ประเมินอาจารย์ = เข้าสอนตรรงเวลา แต่งกายสุภาพเรียบร้อย อาจารย์ได้เปิดวีดีโอให้ดูทำให้เข้าใจง่า
ขึ้นและชอบการเรียนการสอนแบบนี้มากคะทำให้เข้าใจในเนื้อหามกขึ้นคะ 




วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่ 14 ตุลาคม 2557

สรุปความรู้ที่ได้

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)



เด็กออทิสติก
(Autistic)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
สาเหตุของปัญหาการเรียน
•     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
•     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
•     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
•     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
•     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
•     ขาดโอกาสทางการศึกษา
•     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
•     วิธีการสอนไม่เหมาะสม



ปัญหาการเรียน

•    ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง

•    ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัวอักษรสลับกัน

•    ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
•    ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
•    ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก

จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?
•    ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
•    ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
•    การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
•    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
•    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
•    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก

หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
•    สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
•    สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
•    ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
•    ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
•    ใช้ประสบการณ์ตรง
•    ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
•    ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
•    กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
•    ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
•    แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
•    ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
•    สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
•    จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
•    ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
•    มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก

วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
• สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มี      ปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
• สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็น    รายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
• สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจ       และชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
• สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับ     เสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหา   ในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็    อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
• ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง   ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
• ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
• แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
• รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
• แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก  LD
• พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
• แสดงความรักต่อเด็ก
• มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
• อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
• ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
• มีความคาดหวังที่เหมาะสม
• เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
• อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น
•  เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน
• อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน
• อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว
• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง
เด็กออทิสติก

Autism 

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autismเด็กปกติ
การสื่อสาร
  • ไม่มองตา
  • เหมือนคนหูหนวก
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
  • ดูหน้าแม่
  • หันไปตามเสียง
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
  • จำคนไม่ได้
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
  • จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
  • เปลี่ยนของเล่น
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

ความสามารถพิเศษ

เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท

  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

การเลือกโครงการรักษา

เด็กแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน การรักษาต้องขึ้นกับเด็กแต่ละคน การเลือกสถานที่รักษา ผู้ปกครองต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
  • โครงการรักษานี้เคยใช้กับเด็กอื่นบ้างหรือไม่
  • เด็กที่เข้าโครงการออกไปสู่โรงเรียนปกติกี่คน
  • พนักงานมีประสบการณ์หรือรับการอบรมมาหรือไม่
  • มีแผนงานอะไรบ้าง
  • มีโครงการพิเศษและโครงงานประจำวันอะไรบ้าง
  • มีเจ้าหน้าที่มากน้อยแค่ไหน
  • มีการบันทึกความก้าวหน้าอย่างไร มีดัชนี้ชี้วัดถึงความสำเร็จอย่างไร
  • เมื่อเด็กทำดีมีการให้รางวัลหรือไม่
  • สิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่
  • มีการเตรียมผู้ปกครองไว้ดูแลเด็กที่บ้านหรือไม่
  • ราคา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง = เขาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนชอบดูวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้ดูและเวลาดูเสร็จวีดีโอเสร็จอาจาร์ก็จะสรุปให้ฟังอีกรอบทำให้เข้าใจมากขึ้นคะ
ประเมินเพื่อน =เขาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนกันทุกคนเพื่อนให้ความร่วมมือเวลาอาจายร์ให้ออกไปชั้นเรียนไปแสดงเป็นเด็กออทิสติกเพื่อนแสดงได้เหมือนมากเลยทำให้เรียนแล้วสนุกสนานมากเลยคะชอการเรียนการสอนแบบนี้คะทำให้เขาใจง่ายขึ้คะ
ประเมินอาจารย์ =อาจารย์เขาสอนตรงเวลาคะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยคะมีเทคนิกการสอนสนุกสนานมากเลยคะทำให้เขาใจเนื้อหาง่ายขึ้นคะชอบวิธีการสอนของอาจารย์มากเลยคะทำให้เรียนแล้วสนุกสนานและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนง่ายขึ้นคะอยากให้อาจารย์สอนแบบนี้ตลอดและคะ


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 8

วัน อังคาร ที่ 7 ตุลาคม 2557



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอนคะ เนื่องจากทางมหาวิทยาลัยได้จัดให้มีการสอบกลางภาคเรียนที่ 1/2557คะ



บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 7



บันทึกการเรียนการสอนครังที่ 7

วัน อังคาร ที่ 30 กันยายน 2557



วันนี้ไม่มีการเรียนการสอน เเต่อาจารย์ให้เข้าร่วมกิจกรรม  เรื่อง "จิตอาสาตามเเนวคิดเศรษฐ์กิจพอเพียง"