วันอังคารที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9


บันทึกการเรียนการสอนครั้งที่ 9

วัน อังคาร ที่ 14 ตุลาคม 2557

สรุปความรู้ที่ได้

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
(Children with Learning Disabilities)



เด็กออทิสติก
(Autistic)

เด็กที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้
สาเหตุของปัญหาการเรียน
•     สติปัญญาบกพร่อง หรือปัญญาอ่อน (Mental Retardation)
•     วิตกกังวล หรือซึมเศร้า (Anxiety or Depression)
•     สมาธิสั้น (Attention Deficit Hyperactivity Disorder ADHD)
•     ภาวะการเรียนบกพร่อง (Learning Disorder –LD)
•     เจ็บป่วยเรื้อรัง (Chronic Illness)
•     ขาดโอกาสทางการศึกษา
•     ขาดแรงจูงใจ (Lack of Motivation)
•     วิธีการสอนไม่เหมาะสม



ปัญหาการเรียน

•    ปัญหาการพูด  มีปัญหาในการฟังและพูด เช่น พูดช้าพูดสับสน เรียบเรียงประโยคไม่ค่อยได้ หาคำพูดเพื่อมาตอบคำถามไม่ถูกต้อง

•    ปัญหาการเขียน  มีความลำบากในการอ่าน การเขียน และ การสะกดคำ เช่น อ่านไม่เข้าใจ อ่านออกเสียงไม่ถูกต้อง  อ่านตัวอักษรสลับกัน

•    ปัญหาการคำนวณไม่เข้าใจแนวคิดของพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทำเลขไม่ได้
•    ปัญหาในกระบวนความคิดสับสนในการเรียบเรียงและบูรณาการข้อมูลและความคิดต่างๆ
•    ปัญหาความจำจำข้อมูลและคำสั่งต่างๆไม่ค่อยได้นึกอะไรไม่ค่อยออก

จะเกิดอะไรกับเด็กแอลดี (LD) เมื่อเขาโตขึ้น?
•    ในเด็กบางคนที่เป็น LD อาการจะหายไปได้เมื่อโตขึ้น เชื่อว่าสาเหตุมาจากสมองกลุ่มนี้พัฒนาช้า แต่ในที่สุดก็สามารถพัฒนาไปได้ แต่ในเด็กส่วนใหญ่อาการยังคงอยู่ หากไม่ทำการช่วยเหลือแล้ว การเรียนรู้ที่สับสนและลำบากมักนำไปสู่การล้มเหลวในการเรียนและปัญหาทางอารมณ์
•    ในสมัยก่อนยังไม่ค่อยมีใครเข้าใจเรื่อง LD มากนักคนที่เป็น LD เลยต้องประสบปัญหา หลายคนปรับตัวไม่ได้และต้องออกจากโรงเรียนบางคนกลายเป็นอันธพาลเกเร บางคนหางานทำไม่ได้ เป็นต้น
•    การที่เด็กเรียนรู้แบบปกติไม่ได้ ทั้งๆที่สติปัญญาดีนั้นมักทำให้เด็กมีความหงุดหงิดใจ รู้สึกตัวเองโง่เด็กมักถูกเพื่อนๆล้อ ถูกผู้ใหญ่ตำหนิว่าไม่พยายาม เด็กจะมีปฏิกิริยาต่อประสบการณ์ดังกล่าวในหลายลักษณะ เช่นอาจมีอาการวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือไม่ก็มีพฤติกรรมก้าวร้าว ซึ่งก็ทำให้ปัญหาการเรียนที่มีอยู่นั้นแย่ลงไปอีก
การช่วยเหลือเด็กที่เป็นแอลดี (LD)
สิ่งสำคัญในการช่วยเหลือเด็กมีสามประการคือ
•    การแก้ไขความบกพร่องในกระบวนการเรียนรู้
•    การแก้ไขปัญหาทางอารมณ์
•    ส่งเสริมจุดแข็งหรือความสามารถอื่นๆของเด็ก

หลักการทั่วไปในการช่วยเหลือเด็ก LD
•    สอนจากสิ่งที่ง่ายที่สุด
•    สอนจากสิ่งที่เด็กคุ้นเคยไปหาสิ่งที่เด็กไม่คุ้นเคย
•    ให้โอกาสเด็กเลือกเรียน
•    ให้เด็กมีความสุขในการเรียน
•    ใช้ประสบการณ์ตรง
•    ให้เด็กเรียนรู้ตามขีดความสามารถของตน
•    ใช้แรงเสริมอย่างมีประสิทธิภาพ
•    กระตุ้นให้เด็กใช้ความคิด
•    ให้เด็กเรียนจากเพื่อน
•    แจ้งผลการเรียนให้เด็กทราบโดยเร็ว
•    ทบทวนบทเรียนบ่อยๆ
•    สอนโดยการเน้นย้ำเชื่อมโยงกับวิชาอื่นด้วย
•    จัดห้องเรียนให้เอื้อต่อการเรียน
•    ใช้คำสั่งที่สั้นและเข้าใจง่าย
•    มองหาจุดเด่น-จุดด้อยของเด็ก

วิธีการช่วยเหลือเด็ก LD
• สอนเสริม ควรจัดให้เด็กเรียนในชั้นเล็กๆ หรือมีห้องพิเศษที่จัดไว้สอนเด็กที่มี      ปัญหาคล้ายๆกัน หรือให้มีการเรียนตัวต่อตัว ที่เรียกว่า resource room  
• สอนไปตามขั้นตอนเท่าที่เด็กรับได้ ไม่ควรเร่ง และจะต้องให้เหมาะกับเด็กเป็น    รายๆไป เขียนแผนการเรียนรายบุคคล (Individualized Educational Plan-IEP)
• สอนซ้ำๆจนเด็กสามารถก้าวหน้าทีละขั้น เน้นไปในสิ่งที่เด็กทำได้ ให้กำลังใจ       และชมเชยเมื่อเด็กก้าวหน้าขึ้น
• สอนเด็กในช่องทาง (channel) ที่เด็กรับได้ เช่น หากเด็กมีปัญหาในด้านการรับ     เสียงแต่การรับภาพปกติ ก็สอนโดยใช้ภาพ เช่น ให้ดูรูปมากขึ้น หากเด็กมีปัญหา   ในการรับภาพ ก็สอนโดยใช้เสียงมากขึ้น เช่น เด็กที่อ่านหนังสือไม่ได้ พ่อแม่ก็    อ่านหนังสือให้ฟัง เป็นต้น
• ใช้วิธีเรียนรู้หลายรูปแบบ (multimodal technique) ตามช่องทางที่เด็กเรียนรู้ได้ เช่น เด็กที่อ่านไม่คล่อง พ่อแม่อาจอ่านหนังสือแล้วอัดเทปไว้ให้เด็กมาเปิดฟัง   ถ้าเด็กอ่านข้อสอบไม่ได้ อาจต้องขอให้คุณครูอ่านข้อสอบให้เด็กฟังเป็นพิเศษ
• ใช้เครื่องมือต่างๆเข้ามาช่วยเด็ก เช่น เด็กที่มีปัญหาการเขียนอาจใช้เครื่องพิมพ์ดีดหรือเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วย เด็กที่มีปัญหาการคำนวณควรอนุญาตให้ใช้เครื่องคิดเลข ส่วนเด็กที่มีปัญหาการอ่านก็ใช้เครื่องอัดเทปมาช่วย เด็กที่สับสนเกี่ยวกับตัวอักษรก็ควรฝึกโดยใช้ตัวอักษรพลาสติกให้เด็กจับต้อง เพื่อให้เรียนรู้ทางการสัมผัสด้วย เป็นต้น
• แก้ไขอาการสมาธิไม่ดีหรือโรค ADHD ที่มีร่วมด้วย

แก้ไขปัญหาทางอารมณ์
• รักษาปัญหาทางอารมณ์ที่เกิดร่วมค้วยเช่นโรคซึมเศร้าหรือวิตกกังวล
• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเอง (Self-esteem)
• แก้ไขความสัมพันธ์ในครอบครัว ครอบครัวของเด็กที่มีความตึงเครียดเนื่องมาจากการเรียนของเด็กและพ่อแม่มักไม่เข้าใจปัญหาที่เด็กมี การอธิบายพ่อแม่ให้มีความเข้าใจที่ถูกต้องและเปลี่ยนทัศนคติจากการตำหนิเด็กมาเป็นการช่วยเหลือเด็กเป็นสิ่งสำคัญ

คำแนะนำแก่ผู้ปกครองของเด็ก  LD
• พยายามใจเย็นๆ เมื่อคุณฟังเด็กพูดหรือรอเด็กเขียน เพราะเด็กอาจจะพูดหรือเขียนได้ไม่คล่องและต้องใช้เวลาสักนิด
• แสดงความรักต่อเด็ก
• มองหาจุดแข็งและความสามารถอื่นๆพยายามสร้างจุดแข็งเหล่านั้นให้ทดแทนความบกพร่องที่เด็กมี
• อย่าลืมชมเมื่อเด็กทำอะไรได้ดีแม้จะเป็นสิ่งเล็กน้อยก็ตาม
• ยอมรับนับถือในตัวเด็กว่าเด็กก็เป็นบุคคลที่มีความหมายและมีสิ่งดีๆในตนเองเหมือนกัน
• มีความคาดหวังที่เหมาะสม
• เมื่อเด็กทำผิดเช่นเขียนผิดอ่านผิดจงอย่าบ่นช่วยเด็กแก้ไขข้อที่ผิดอย่างอดทน
• อ่านหนังสือสนุกๆกับเด็กกระตุ้นให้เด็กถามคำถามเล่าเรื่องและแสดงความคิดเห็น
•  เด็ก LD มักมีปัญหาสมาธิสั้นร่วมด้วย ดังนั้นต้องช่วยเด็กโดยลดสิ่งที่จะทำให้เด็กวอกแวก ให้เด็กมีที่เงียบๆ สำหรับนั่งทำงาน
• อย่ามีของเล่นมากไปอย่าเปิดโทรทัศน์หรือวิทยุขณะเด็กทำการบ้าน
• อย่าสนใจคะแนนมากนักเพราะเด็กอาจทำคะแนนได้ไม่ดีทั้งๆที่พยายามมากแล้ว
• ช่วยให้เด็กมีความนับถือตนเองอย่างมั่นคง
เด็กออทิสติก

Autism 

โรค Autism เป็นความผิดปกติในสมอง เด็กที่เป็นจะมีปัญหาเรื่อง การสื่อสาร ความสัมพันธ์ กับคนรอบข้างและสิ่งแวดล้อม เด็กบางคนสามารถสื่อสารกับผู้อื่นและก็มีความฉลาด แต่เด็กบางคนเป็นเด็กปัญญาอ่อน ไม่พูด เด็กบางคนก็มีพฤติกรมทำซ้ำซาก จะเห็นว่าเด็กแต่ละคนมีอาการไม่เหมือนกัน ความรุนแรงไม่เท่ากัน แต่จะมีปัญหาทางสังคม การสื่อสาร พฤติกรรม กล้ามเนื้อและความรู้สึก
เด็กที่เป็น Autismเด็กปกติ
การสื่อสาร
  • ไม่มองตา
  • เหมือนคนหูหนวก
  • เคยพูดได้ต่อมาหยุดพูด
  • ดูหน้าแม่
  • หันไปตามเสียง
  • เรียนรู้คำพูดเพิ่มเติม
ความสัมพันธ์กับคนรอบข้าง
  • เด็กจะไม่สนใจคนรอบข้าง
  • ทำร้ายคนโดยไม่มีสาเหตุ
  • จำคนไม่ได้
  • เด็กจะร้องเมื่อออกจากห้อง หรือมีคนแปลกหน้าเข้าใกล้
  • ร้องเมื่อหิวหรือหงุดหงิด
  • จำหน้าแม่ได้
ความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
  • นั่งเล่นอย่างใดอย่างหนึ่ง
  • มีพฤติกรมแปลกๆเช่นนั่งโบกมือ
  • ดมหรือเลียตุ๊กตา
  • ไม่รู้สึกเจ็บปวด ชอบทำร้ายตัวเอง
  • เปลี่ยนของเล่น
  • การเคลื่อนไหวเป็นไปอย่างมีจุดมุ่งหมาย เช่นการหยิบของ
  • สำรวจและเล่นตุ๊กตา
  • ชอบความสุขและกลัวความเจ็บ

ความสามารถพิเศษ

เด็ก autism บางคนมีความสามารถพิเศษหลายอย่างเช่น การวาดรูป ความจำ การเล่นดนตรี การอ่านหนังสือ
การพัฒนาของเด็กปกติ
การที่จะรู้ว่าเด็กมีพฤติกรรมผิดปกติต้องรู้พฤติกรรมปกติของเด็ก

การวินิจฉัย

ปัจจุบันยังไม่การตรวจด้วยการเจาะเลือดหรือการ x-ray เพื่อวินิจฉัยโรคออทิสติก ผู้ป่วยออทิสติกแต่ละคนก็แสดงอาการไม่เหมือนกัน นอกจากนั้นอาการหลายอย่างที่พบในโรคอื่น ดังนั้นพ่อแม่ ครูและแพทย์จะต้องร่วมมือในการวินิจฉัยแยกโรค เช่นหูหนวก ปัญญาอ่อน มีปัญหาในการพูด และโรคทางสมอง หากไม่มีโรคดังกล่าวจึงส่งไปพบแพทย์ที่เชี่ยวชาญทาง autism เกณฑ์การวินิจฉัยโรค autism
  • มีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับสังคม
  • มีปัญหาเรื่องการสื่อสารหรือภาษา
  • มีพฤติกรรมที่ทำซ้ำๆ
เด็กที่เป็น autism มักจะมีปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่ง บางอาการเป็นมาก บางอาการเป็นน้อยและอาการต้องเกิดที่อายุ 3 ขวบ

สาเหตุของ Autism

สมองของคนเราเริ่มสร้างและพัฒนาตั้งแต่เริ่มปฏิสนธิจนกระทั่งเกิด โดยแต่ละส่วนของสมองจะมีเซลล์ประสาท neuron ที่ทำหน้าที่พิเศษไปฝังตัว หลังจากนั้นเซลล์เหล่านี้จะแบ่งตัวมากขึ้น และมีใยประสาท fibers เป็นตัวเชื่อมเซลล์ประสาท สมองจะสั่งงานโดยการหลังสาร neurotransmitters ที่รอยต่อของเซลล์ประสาท

  • สมองส่วนหน้า frontal lobe จะทำหน้าที่แก้ปัญหา การวางแผน การเข้าใจพฤติกรรมของผู้อื่น
  • สมองส่วนข้าง parietal lobe ทำหน้าที่การได้ยิน การพูด การสื่อสาร
  • สมองน้อย cerebellum ทำหน้าที่การทรงตัว การเคลื่อนไหวของร่างกาย
  • สมองส่วน corpus callossum เป็นตัวเชื่อมสมองทั้งสองข้าง
หลังจากที่เด็กเกิดสมองยังมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องสาเหตุที่อาจจะเป็นไปได้คือ
  • การที่เซลล์ประสาทไปอยู่ผิดที่ ทำให้การทำงานของสมองผิดปกติ
  • การหลั่ง neurotransmitters ผิดปกติ

ปัจจัยที่มีผลต่อการพัฒนาของสมอง

  • พันธุกรรม พบว่าฝาแผดไข่ใบเดียวกัน หากมีคนหนึ่งเป็นอีกคนหนึ่งจะมีโอกาสสูง หากมีพี่นอนคนหนึ่งเป็นน้องก็มีความเสี่ยงสูง
  • ขณะตั้งครรภ์ ขณะเป็นตัวอ่อนในครรภ์สมองเด็กจะมีการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ดังนั้นหากมีสิ่งมากระทบสมองเด็กโดยเฉพาะ 3 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ตัวอย่างภาวะดังกล่าวได้แก่ การติดเชื้อไวรัสหัดเยอรมัน การขาดoxygen ขณะคลอด

โรคที่พบร่วมกับ Autism

  • ปัญญาอ่อน Mental retard ประมาณร้อยละ 75-80 ของเด็กจะมีลักษณะปัญญาอ่อนไม่มากก็น้อย ร้อยละ 15-20จะปัญญาอ่อนค่อนข้างมาก โดยมีIQ น้อยกว่า 35 จะมีอยู่ประมาณร้อยละ 10ที่มีระดับ IQ ปกติ
  • โรคลมชัก Seizure ประมาณ1ใน3จะมีการชัก

ยาที่ใช้รักษาโรค Autism

ยังไม่มียาที่จะไปเปลี่ยนเซลล์ neuron หรือการทำงานของสมอง และยังไม่มียาที่ได้รับการขึ้นทะเบียนว่าเป็นยารักษาautism ยาที่ใช้รักษาเป็นยาโรคอื่นที่มีอาการใกล้เคียง
  • เนื่องจากผู้ป่วยจะมีความวิตกกังวลและซึมเศร้าการใช้ยาต้านโทมนัส เช่น fluoxetine (Prozac™), fluvoxamine (Luvox™), sertraline (Zoloft™), และ clomipramine (Anafranil™) สามารถลดอาการก้าวร้าวของผู้ป่วย
  • เด็ก autism บางคนเป็นโรคสมาธิสั้นร่วมด้วยการให้ยา Ritalin ก็สามารถให้ผลดี
  • Chlorpromazine, theoridazine, และ haloperidol เป็นยาที่รักษาผู้ป่วยจิตเวชก็สามารถลดอาการพฤติกรรมทำซ้ำๆ ลดการกระวนกระวาย
  • วิตามิน บี 6 มีรายงานว่าทำให้การทำสมองทำงานได้ดีขึ้นแต่ยังอยู่ระหว่างการทดลอง
การเข้าสังคมและพฤติกรรม
ได้มีการพัฒนาวิธีการรักษาหลายอย่างโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มทักษะในการเข้าสังคมเพื่อทดแทนพฤติกรรมที่เบี่ยงเบียน และสร้างสิ่งแวดล้อมให้เกิดการเรียนรู้ตามความต้องการเรียนรู้ของเด็ก การเรียนการสอนต้องมีขั้นตอนง่ายๆที่ละขั้น และต้องจูงใจเด็กให้สนใจและที่สำคัญต้องมีส่วนในการปรับพฤติกรรมของเด็ก ในการกำหนดเรื่องที่จะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของเด็ก ครู ผู้ปกครองและผู้รักษาต้องปรึกษากัน และที่สำคัญพ่อแม่เป็นครูที่ใกล้ชิดและเป็นครูคนแรกของเด็ก ดังนั้นต้องมีการฝึกทักษะของพ่อแม่ในการฝึกสอนเด็ก

การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

โดยอาศัยหลักว่าเมื่อทำถูกต้องหรือทำดีต้องให้รางวัล เมื่อเด็กได้สามารถพัฒนาทักษะใหม่ต้องให้รางวัลแก่เด็ก เด็กก็จะทำสิ่งนั้นซ้ำจนเกิดความชำนาญ เช่นเมื่อเด็กเริ่มมองหน้าพ่อแม่หรือครูก็จะให้รางวัล วิธีการฝึกเช่นให้เด็กนั่งเก้าอี้ ถ้าเด็กไม่นั่งก็จับเด็กนั่งแล้วรีบให้รางวัล อาจจะเป็นขนมหรือคำชมที่เด็กชอบ ทำซ้ำๆกันจนเด็กสามารถทำตามคำสั่งได้และนั่งนานพอควรจึงเปลี่ยนไปบทอื่น การใช้วิธีนี้จะได้ผลดีเมื่อทำตอนเด็กอายุน้อยๆ

การเลือกโครงการรักษา

เด็กแต่ละคนจะรักษาไม่เหมือนกัน การรักษาต้องขึ้นกับเด็กแต่ละคน การเลือกสถานที่รักษา ผู้ปกครองต้องพิจารณาปัจจัยต่อไปนี้
  • โครงการรักษานี้เคยใช้กับเด็กอื่นบ้างหรือไม่
  • เด็กที่เข้าโครงการออกไปสู่โรงเรียนปกติกี่คน
  • พนักงานมีประสบการณ์หรือรับการอบรมมาหรือไม่
  • มีแผนงานอะไรบ้าง
  • มีโครงการพิเศษและโครงงานประจำวันอะไรบ้าง
  • มีเจ้าหน้าที่มากน้อยแค่ไหน
  • มีการบันทึกความก้าวหน้าอย่างไร มีดัชนี้ชี้วัดถึงความสำเร็จอย่างไร
  • เมื่อเด็กทำดีมีการให้รางวัลหรือไม่
  • สิ่งแวดล้อมปลอดภัยสำหรับเด็กหรือไม่
  • มีการเตรียมผู้ปกครองไว้ดูแลเด็กที่บ้านหรือไม่
  • ราคา
การประเมินผล
ประเมินตนเอง = เขาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนชอบดูวีดีโอที่อาจารย์เปิดให้ดูและเวลาดูเสร็จวีดีโอเสร็จอาจาร์ก็จะสรุปให้ฟังอีกรอบทำให้เข้าใจมากขึ้นคะ
ประเมินเพื่อน =เขาเรียนตรงเวลาแต่งกายถูกระเบียบตั้งใจเรียนกันทุกคนเพื่อนให้ความร่วมมือเวลาอาจายร์ให้ออกไปชั้นเรียนไปแสดงเป็นเด็กออทิสติกเพื่อนแสดงได้เหมือนมากเลยทำให้เรียนแล้วสนุกสนานมากเลยคะชอการเรียนการสอนแบบนี้คะทำให้เขาใจง่ายขึ้คะ
ประเมินอาจารย์ =อาจารย์เขาสอนตรงเวลาคะแต่งกายสุภาพเรียบร้อยคะมีเทคนิกการสอนสนุกสนานมากเลยคะทำให้เขาใจเนื้อหาง่ายขึ้นคะชอบวิธีการสอนของอาจารย์มากเลยคะทำให้เรียนแล้วสนุกสนานและเข้าใจเนื้อหาที่เรียนง่ายขึ้นคะอยากให้อาจารย์สอนแบบนี้ตลอดและคะ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น